LD บกพร่องทางการเรียนรู้

LD สภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ "หลงลืมง่าย อ่านเขียนไม่รู้เรื่อง"

Learning Disorder (LD)


หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบประสาทชนิดถาวร ทำให้สมองถูกจำกัดความสามารถในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ หรือการจดจำ และอาจพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ถึงร้อยละ 40-50 เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD)

พ่อแม่อาจสังเกตสัญญาณของความผิดปกติจากการที่เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นาน มีปัญหาในการพูด การอ่าน การเขียน การคำนวณ ส่งผลให้อาจมีทักษะในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน 

ทั้งนี้ความเอาใจใส่ของคนใกล้ชิดและการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ อาจช่วยให้ผู้ป่วยเด็ก LD พัฒนาทักษะทางด้านต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เหมือนเด็กปกติ



อาการของเด็ก LD
กลุ่มอาการบกพร่องทางการเรียนรู้แบ่งเป็นหลายชนิดตามความบกพร่องทางทักษะด้านต่างๆ ส่งผลให้เด็ก LD แสดงอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ดังนี้

1. ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่าน

– เด็กจะมีความบกพร่องในการจดจำพยัญชนะ สระ ตัวสะกด และขาดทักษะในการสะกดคำ
– อ่านออกเสียงไม่ชัด
– ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
– อ่านข้าม เพิ่มคำ ลดคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้
– อ่านกลับคำหรือสลับที่คำ เช่น คาถา อ่านเป็น ทาขา
– อ่านคำควบกล้ำไม่ออก
– อ่านโดยการเดาจากภาพ หรือแทนที่คำอ่านด้วยคำอื่น
– แสดงอาการหงุดหงิด กังวล ไม่สบายใจระหว่างการอ่าน
– หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหามากๆ


2. ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาด้านการเขียน

– เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง เรียงลำดับอักษรผิด วางสระหรือวรรณยุกต์ผิดตำแหน่ง
– เขียนหนังสือช้า เพราะกลัวสะกดผิด
– เขียนตัวหนังสือกลับด้าน เหมือนภาพสะท้อนจากกระจกเงา หรือเขียนตัวอักษรสลับด้าน เช่น ถ เป็น ภ หรือ พ เป็น ผ
– เขียนตัวหนังสือสลับที่กัน เช่น เวลา เป็น วเลา
– เขียนตามเสียงที่อ่าน เช่น รูปภาพ เป็น รูปพาบ
– เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
– เขียนได้แค่ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ และใช้คำเดิมสั้นๆ สื่อความหมายผ่านการเขียนได้ไม่ดี เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง
– เขียนแล้วลบบ่อยๆ ไม่มั่นใจในสิ่งที่เขียน
– ผัดผ่อนหรือหลีกเลี่ยงการเขียน


3. ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาด้านการคำนวณ

– ความสามารถด้านการคำนวณจะด้อยกว่าเด็กคนอื่นในชั้นเรียนอย่างมาก
– คิดเลขช้ามาก
– ไม่เข้าใจแนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือสูตรต่างๆ ไปจนถึงหลักการยืมการทดเลข
– ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่รู้ว่าเลขใดมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่ากัน
– คิดเลขตกหล่น ผิดพลาด สะเพร่า
– สับสนและไม่เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เช่น > หรือ <
– มีปัญหาในการคิดเลขในใจ
– ตีโจทย์ปัญหาเลขไม่ออก
– ไม่เข้าใจเรื่องเวลา ดูนาฬิกาไม่เป็น
– มีปัญหาในเรื่องของการชั่ง ตวง วัด และการนับเงิน ทอนเงิน

โดยทั้ง 3 ลักษณะ
จะต้องต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

เด็กที่เป็น LD มักจะรู้สึกว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง มีปมด้อย เศร้าหมอง เพราะมักถูกบังคับให้ทำงานซ้ำๆ หรือเรียนพิเศษ ทำให้ยิ่งต่อต้านการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน ในขณะที่พวกเขามักพูดจาฉลาด โต้ตอบได้ดี แต่พอให้อ่าน เขียน คำนวณ กลับทำได้ไม่ดี ทำให้ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ดุว่าเป็นเด็กขี้เกียจ ดื้อ เกเร และอายที่ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ไม่อยากให้ใครรู้ ก็เลยปฏิเสธการทำสิ่งต่างๆ ที่ทำไม่ได้


ทางเลือกใหม่ในการดูแล
"เด็กแอลดี"





" เห็นผลจริง พิสูจน์แล้ว โดยผู้ใช้จริง "
หายห่วงเรื่องผลข้างเคียง
กดที่ภาพเพื่อดูผลลัพท์ผู้ใช้เพิ่มเติม



ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ศูนย์พัฒนาสมองอัจฉริยะ
"พร้อมให้คำปรึกษาฟรี ตลอดโครงการ"










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุยกันทีไรทะเลาะกันทุกที (พฤติกรรมก้าวร้าวต่อต้าน)